เมนู

และพระอุบลวรรณาภิกษุณีเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขมาภิกษุณีและอุบล-
วรรณาภิกษุณีนี้เป็นตราชู เป็นประมาณแห่งภิกษุณีทั้งหลายผู้สาวิกาของเรา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนา
อย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นตราชู
เป็นประมาณแห่งอุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็น
เช่นนางขุชชุตราอุบาสิกา และนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดาเถิด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นางขุชชุตราอุบาสิกา และนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดานี้เป็นตราชู
เป็นประมาทของอุบาสิกาทั้งหลายผู้สาวิกาของเรา.
จบอายาจนสูตรที่ 6
อายาจนสูตรที่ 6 พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาเอกนิบาต
ในหนหลัง.

7. ราหุลสูตร


ว่าด้วยตรัสสอนพระราหุลให้มนสิการธาตุกรรมฐาน


[177] ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง
ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล
ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี ปฐวีธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าปฐวีธาตุ
เท่านั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ย่อม
คลายกำหนัดในปฐวีธาตุ ดูก่อนราหุล อาโปธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอก
ก็ดี อาโปธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าอาโปธาตุเท่านั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ
ดูก่อนราหุล เตโชธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี เตโชธาตุนั้นก็เป็น
แต่สักว่าเตโชธาตุเท่านั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายใน
เตโชธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในเตโชธาตุ ดูก่อนราหุล วาโยธาตุที่เป็นภายใน
ก็ดี เป็นภายนอกก็ดี วาโยธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าวาโยธาตุเท่านั้น พึงเห็น
วาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ
ดูก่อนราหุล เพราะเหตุที่ภิกษุพิจารณาเห็นว่ามิใช่ตัวตน ไม่เนื่องในตน
ในธาตุ 4 นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้แล้ว รื้อถอนสังโยชน์เสียได้
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ.
จบราหุลสูตรที่ 7

อรรถกถาราหุลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในราหุลสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌตฺติกา ได้แก่ ปฐวีธาตุใน 20 ส่วน มีผมเป็นต้น
มีลักษณะแข็ง. บทว่า พาหิรา ได้แก่ พึงทราบปฐวีธาตุในแผ่นหินและ
ภูเขาเป็นต้น อันไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เป็นภายนอกมีลักษณะแข็ง. พึงทราบ
ธาตุแม้ที่เหลือโดยนัยนี้. บทว่า เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เม โส อตฺตา
(นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา) นี้ ท่านกล่าว
ด้วยอำนาจการปฏิเสธความยึดถือ. ด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ. บทว่า สมฺ-
มปฺปญฺญาย ทฏฺฐพฺพํ
ได้แก่ พึงเห็นด้วยมรรคปัญญาโดยเหตุโดยการณ์.
บทว่า ทิสฺวา ได้แก่ เห็นด้วยมรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา.
บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตณฺหํ ได้แก่ ตัดตัณหาที่พึงฆ่าด้วยมรรคพร้อมด้วยมูล.
บทว่า วิวฏฺฏยิ สญฺโญชนํ ได้แก่รื้อ คือเพิกถอนละสังโยชน์ 10 อย่าง.
บทว่า สมฺมามานาภิสมยา ได้แก่ เพราะละมานะ 9 อย่าง โดยเหตุโดยการณ์.
บทว่า อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ได้แก่ กระทำวัฏทุกข์ให้ขาดทาง อธิบายว่า
กระทำแล้วยังตั้งอยู่ พระศาสดาตรัสวิปัสสนาไว้ในราหุลวาทสูตรในสังยุตตนิกาย
ด้วยประการฉะนี้. แม้ในจูฬราหุโลวาทสูตรก็ตรัสวิปัสสนาไว้. ตรัสการเว้น
จากมุสาวาทของภิกษุหนุ่มไว้ในราหุโลวาทสูตร ณ อัมพลัฏฐิการาม. ตรัส
วิปัสสนาเท่านั้นในมหาราหุโลวาทสูตร. ตรัสจตุโกฏิกสุญญตาไว้ในอังคุคตร-
นิกายนี้.
จบอรรถกถาราหุลสูตรที่ 7